การสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับแบบต่าง ๆ

      การเริ่มเดินมอเตอร์หรือสตาร์ทมอเตอร์จากจุดที่มอเตอร์หยุดนิ่งจะต้องใช้กระแสจำนวนมากเพื่อเอาชนะแรงเฉื่อย ดังนั้นมอเตอร์จึงมีทั้งกระแส แรงบิดหรือแรงกระชาก ณ ตอนสตาร์ทสูงมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อแบริ่งหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับเพลา วิธีการสตาร์ทมอเตอร์เพื่อลดปัจจัยเหล่านี้จึงมีหลายวิธี 

 

การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct Online Starting)

เป็นการสตาร์ทแบบป้อนแรงดันเต็มพิกัดเข้าสู่มอเตอร์ (Full Voltage Starting) ใช้กับมอเตอร์ขนาดเล็กโดยมอเตอร์จะถูกต่อผ่านอุปกรณ์สตาร์ทแล้วต่อเข้ากับแหล่งจ่ายกำลังไฟโดยตรงโดยไม่ผ่านวิธีลดแรงดันก่อนถึงตัวมอเตอร์ มอเตอร์จึงสตาร์ทด้วยแรงดันเท่ากับสายจ่ายแรงดันทันที ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้ตัวมอเตอร์ หรือวงจรไฟฟ้าอื่น ๆ เกิดความเสียหายได้

 

การสตาร์ทมอเตอร์โดยวิธีลดแรงดัน (Reduced Voltage Starting)

ใช้วิธีลดกระแสแรงดันในขณะสตาร์ทไม่ให้สูงเกินไปเพื่อป้องกันอันตราย การสตาร์ทแบบนี้มีหลากหลายวิธี เช่น

  • การสตาร์ทโดยสลิป-ริงมอเตอร์ (Slip Ring Motor Starter
    โรเตอร์ของมอเตอร์สลิป-ริงเป็นแบบขดลวดพัน และมีวงแหวนลื่น (Slip Ring) เพื่อต่อความต้านทานภายนอกไปยังขดลวดเพื่อลดกระแสขณะสตาร์ท
  • การสตาร์ทโดยอุปกรณ์โซลิดสเตท (Solid State Motor Starter)
    ใช้อุปกรณ์โซลิดสเตท เช่น SCR (silicon control rectifier) ช่วยในการสตาร์ท โดยอุปกรณ์โซลิดสเตทนี้จะช่วยควบคุมแรงดันและกระแสให้เหมาะสมในขณะที่มอเตอร์เริ่มเร่งความเร็ว นอกจากนี้ SCR ยังมีความสามารถในการสวิตช์ได้อย่างรวดเร็วทำให้แรงบิดขณะสตาร์ทไม่กระชาก

  • การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า (Star Delta Motor Starter)
    วิธีนี้ได้รับความนิยมมากเนื่องจากออกแบบง่ายและเหมาะกับการสตาร์ทมอเตอร์สามเฟสแบบเหนี่ยวนำ ใช้สำหรับมอเตอร์ที่มีการต่อขดลวดภายในที่มีปลายสายต่อออกมาข้างนอก 6 ปลาย และมอเตอร์จะต้องมีพิกัดแรงดันสำหรับการต่อแบบเดลต้าที่สามารถต่อเข้ากับแรงดันสายจ่ายได้อย่างปลอดภัย

  • การใช้หม้อแปลงออโต้ (Auto Transformer Reduced-Voltage Motor Starter)
    เป็นการใช้หม้อแปลงออโต้ที่มีขดลวดหลายชุดที่สามารถเปลี่ยนแท็ปแรงดันได้ในการสตาร์ท

  • การใช้ขดลวดบางส่วน (Part Winding Motor Starter)
    ใช้วิธีต่อขดลวดแยกกัน 2 ชุดขนานกันภายในสเตเตอร์ของตัวมอเตอร์ โดยสามารถลดกระแสขณะสตาร์ทได้กว่า 35% ของกระแสเต็มพิกัด

  • การใช้ความต้านทานปฐมภูมิ (Primary Resistance Motor Starter)
    วิธีนี้มีความง่ายมากที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น โดยการใช้ความต้านทานต่ออนุกรมกับขดลวดแต่ละเฟสของมอเตอร์ ทำให้แรงดันขณะสตาร์ทตกคร่อมความต้านทานและขดลวดมอเตอร์ในแต่ละเฟสรับแรงดันจากสายจ่ายกำลังประมาณ 70%-80% เมื่อมอเตอร์หมุนไปสักระยะหนึ่งความต้านทานก็จะถูกตัดออกไปและปล่อยให้มอเตอร์รับแรงดันจากสายจ่ายได้โดยตรง

  • การใช้ขดลวดเหนี่ยวนำปฐมภูมิ (Primary Reactance Motor Starter)
    วิธีนี้มีความคล้ายคลึงกับการใช้ความต้านทานปฐมภูมิ แต่เป็นการใช้ขดลวดเหนี่ยวนำต่อแทนแรงต้านทาน ซึ่งมีข้อดีคือช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากความร้อนได้

 


บริษัท ยูโรเอ็นเทค จำกัด ผู้ผลิตและให้คำปรึกษาด้านระบบควบคุมและระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม [ ดูสินค้าบริษัท ]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

📞 086-4417193, 02-7596892

🏬 สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ [ click ]

เครื่องเชื่อม TIG เชื่อมทิก เชื่อมโลหะ MMA เชื่อมไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ที่ปรึกษา มอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า