1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้มีจะมีชื่อเรียกตามวัสดุที่ใช้ มีหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น
- ตัวต้านทานแบบเส้นลวดพันรอบ (Wire-wound Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ โครงสร้างเกิดจากการใช้เส้นลวดพันลงบนแกนเซรามิค โดยปลายทั้งสองด้านของเส้นลวดจะถูกต่อเข้ากับโลหะ ผิวของเส้นลวดจะถูกเคลือบด้วยซีเมนต์หรือปลอกแก้วเพื่อใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าและให้เกิดความแข็งแรง โดยเส้นลวดทำจากโลหะผสม 2 หรือ 3 ชนิด เช่น นิกเกิล-โครเมียม หรือทองแดง-นิกเกิล ตัวต้านทานแบบนี้จะมีค่าความต้านทานต่ำเพื่อให้มีกระแสไหลผ่านได้สูง สามารถทนความร้อนได้ดี ระบายความร้อนโดยใช้การถ่ายเทอากาศ
- ตัวต้านทานแบบคาร์บอนผสม (Carbon Composition Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ นิยมใช้กันแพร่หลายเพราะมีราคาถูก ทํามาจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทานผสมกันระหว่างผงคาร์บอนและผงของฉนวน อัตราส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ จะทําให้ค่าความต้านทานมีค่ามากน้อยเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ ปลายทั้งสองด้านของตัวต้านทานต่อด้วยลวดตัวนําและด้านนอกของตัวต้านทานจะฉาบด้วยฉนวน
- ตัวต้านทานแบบฟิลม์โลหะ (Metal Film Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ ทํามาจากแผ่นฟิลม์บางของแก้วและโลหะหลอมเข้าด้วยกันแล้วนําไปเคลือบเซรามิค จากนั้นทําเป็นรูปทรงกระบอกแล้วตัดแผ่นฟิลม์ที่เคลือบออกให้ได้ค่าความต้านทานที่ต้องการและเคลือบด้วยสารอีพ๊อกซี (Epoxy) ในขั้นตอนสุดท้าย ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความผิดพลาด ±0.1 % ถึงประมาณ ±2% ซึ่งถือว่ามีค่าความผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนี้ยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภายนอกได้ดี และมีสัญญาณรบกวนน้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานชนิดอื่น ๆ
- ตัวต้านทานแบบฟิลม์คาร์บอน (Carbon Film Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ ใช้การฉาบผงคาร์บอนลงบนแท่งเซรามิคแล้วนำไปเผาเพื่อให้เกิดเป็นแผ่นฟิลม์คาร์บอน หลังจากนั้นจะตัดฟิลม์เป็นวงแหวนเหมือนเกลียวน๊อต ในกรณีที่เคลือบฟิลม์คาร์บอนในปริมาณน้อยจะทําให้ได้ค่าความต้านทานสูง และในทางเดียวกัน หากเพิ่มฟิลม์คาร์บอนมากขึ้นก็จะทําให้ได้ค่าความต้านทานต่ำ ตัวต้านทานแบบฟิลม์โลหะมีค่าความผิดพลาด ±5% ถึง ±20% ทนกําลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8 วัตต์ - 2 วัตต์ มีค่าความต้านทานตั้งแต่ 1 โอห์ม - 100 เมกกะโอห์ม
2. ตัวต้านทานแบบเลือกค่าได้ (Tapped Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ คือ ตัวต้านทานแบบเส้นลวดพันรอบชนิดหนึ่งที่ถูกแทปหรือแบ่งขดลวดความต้านทานออกเป็นสองหรือสามค่าภายในตัวเดียวกันเพื่อความสะดวกในการเลือกใช้งาน เป็นตัวต้านทานที่ทนกำลังไฟฟ้าได้สูง
3. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (Adjustable Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ เป็นตัวต้านทานแบบเส้นลวดพันรอบอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเลือกความต้านทานที่ต้องการได้ โดยตัวต้านทานจะมีปลอกโลหะสวมอยู่ ในปลอกโลหะนั้นจะมีจุดสัมผัสต่อกับลวดความต้านทาน และเมื่อเลื่อนไปมาให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ต้องการแล้วสามารถขันสกรูยึดติดกับจุดสัมผัสให้แน่นเพื่อป้องกันการอาร์ก ผู้ใช้สามารถเลือกค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ประมาณ 0 โอห์ม จนถึงค่าสูงสุดของตัวมัน เหมาะกับงานที่ต้องการความต้านทานที่เที่ยงตรงและทนกำลังไฟฟ้าสูง ๆ
4. ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในของตัวต้านทานชนิดนี้ทํามาจากคาร์บอน เซรามิค หรือ พลาสติกตัวนํา ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่น เครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ฯ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ มีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือพอต (Pot) ชนิดที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทานหรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทาน เรียกว่า โวลลุ่ม (Volume) ส่วนแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มเกือกม้าหรือทิมพอต (Trimpot)
5. ตัวต้านทานแบบพิเศษ (Special Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ สร้างมาให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อมรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) ที่ค่าความต้านทานจะเพิ่มหรือลดลงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิซึ่งนิยมใช้เป็นตัวเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ หรือ ตัวต้านทานแปรค่าด้วยพลังแสง (photovaristor) หรือ LDR: Light Dependent Resistor ที่ใช้เป็นเซนเซอร์ตรวจจับแสง
บริษัท ยูโรเอ็นเทค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายตัวต้านทาน Resistor คุณภาพมาตรฐาน ราคาย่อมเยาว์ [ ดูสินค้า ]
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
📞 086-4417193, 02-7596892
🏬 สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ [ click ]
เครื่องเชื่อม TIG เชื่อมทิก เชื่อมโลหะ MMA เชื่อมไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ที่ปรึกษา มอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า คาปาซิเตอร์ ตัวเก็บประจุ capacitor ตัวต้านทาน resistor