ตัวเก็บประจุสามารถแบ่งชนิดได้ตามลักษณะทางโครงสร้าง หรือ ตามสารที่ใช้ทำไดอิเล็กตริก โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
1. ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor)
ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ มักมีรูปทรงกลมหรือทรงกระบอกและแสดงค่าบนตัวเก็บประจุ เช่น 5 พิโกฟารัด (PF) 10 ไมโครฟารัด (uF) มักใช้โลหะเป็นแผ่นเพลตตัวนำและมีไดอิเล็กตริก เช่น เซรามิก, ไมก้า, อิเล็กโตรไลติก ฯ คั่นกลาง ชื่อของตัวเก็บประจุชนิดนี้จะเรียกตามไดอิเล็กตริกที่ใช้ ดังนี้
- ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลต์ (Electrolyte Capacitor) ได้รับความนิยมเนื่องจากให้ค่าความจุสูง มีขั้วบวกลบ ต้องติดตั้งให้ถูกขั้วเวลาใช้งาน โครงสร้างภายในคล้ายกับแบตเตอรี่ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ําหรือใช้สําหรับไฟฟ้ากระแสตรง มีข้อเสียคือกระแสรั่วไหลและความผิดพลาดสูง
- ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลต์ (Tantalum Electrolyte Capacitor) มักใช้ตัวเก็บประจุชนิดนี้แทนชนิดอิเล็กโตรไลต์ธรรมดา สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความผิดพลาดน้อยและใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะให้ค่าความจุสูงเช่นกัน โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นตัวนําทํามาจากสารแทนทาลั่มและแทนทาลั่มเปอร์ออกไซค์อีกแผ่น มีแมงกานิสไดออกไซค์ เงิน และเคลือบด้วยเรซิน
- ตัวเก็บประจุชนิดไบโพลาร์ (Bipolar Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุชนิดเดียวกับแบบอิเล็กโตรไลต์แต่ไม่มีขั้วบวกขั้วลบ เรียกสั้น ๆ ว่าไบแคป
- ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค (Ceramic Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (mF) นิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก เหมาะกับวงจรประเภทคัปปิ้งความถี่วิทยุ ข้อเสียคือมีการสูญเสียมาก
- ตัวเก็บประจุชนิดไมลาร์ (Mylar Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1 ไมโครฟารัด (mF) มีเปอร์เซนต์ความผิดพลาดและการรั่วไหลของกระแสน้อยกว่าชนิดเซรามิค เหมาะสําหรับวงจรกรองความถี่สูง วงจรไอเอฟของวิทยุ โทรทัศน์ ในอัตราทนแรงดันที่เท่ากันตัวเก็บประจุชนิดไมลาร์จะมีตัวถังที่ใหญ่กว่าเซรามิค
- ตัวเก็บประจุชนิดฟีดทรู (Feed-through Capacitor) ลักษณะเป็นตัวถังทรงกลมมีขาใช้งานหนึ่งหรือสองขา ใช้ในการกรองความถี่รบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์ มักใช้ในวิทยุรถยนต์
- ตัวเก็บประจุชนิดโพลีสไตรีน (Polystyrene Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าน้อยระดับนาโนฟารัด(nF) จุดเด่นคือให้ค่าการสูญเสียและกระแสรั่วไหลน้อยมาก นิยมใช้ในงานคัปปิ้งความถี่วิทยุและวงจรจูนที่ต้องการความละเอียดสูง จัดเป็นตัวเก็บประจุคุณภาพสูง
- ตัวเก็บประจุชนิดซิลเวอร์ไมก้า (Silver Mica Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่า10 พิโกฟารัด (pF) ถึง 10 นาโนฟารัด (nF) มีเปอร์เซนต์ความผิดพลาดน้อย นิยมใช้กับวงจรความถี่สูง จัดเป็นตัวเก็บประจุคุณภาพสูงอีกชนิดหนึ่ง
2. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)
ตัวเก็บประจุชนิดนี้ค่าการเก็บประจุจะเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 แผ่นหรือมากกว่าวางใกล้กัน แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้ ไดอิเล็กตริกที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อากาศ ไมก้า เซรามิค พลาสติก ฯ
3. ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้ (Select Capacitor) คือตัวเก็บประจุในตัวถังเดียว แต่มีค่าให้เลือกใช้งานมากกว่าหนึ่งค่า
บริษัท ยูโรเอ็นเทค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายตัวเก็บประจุ Capacitor คุณภาพมาตรฐาน ราคาย่อมเยาว์ มีให้เลือกหลายชนิด [ ดูสินค้า ]
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
📞 086-4417193, 02-7596892
🏬 สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ [ click ]
เครื่องเชื่อม TIG เชื่อมทิก เชื่อมโลหะ MMA เชื่อมไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ที่ปรึกษา มอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า คาปาซิเตอร์ ตัวเก็บประจุ capacitor