ตัวเก็บประจุ (Capacitor) ทำงานอย่างไร

     ตัวเก็บประจุ หรือ Capacitor เป็นอุปกรณ์กักเก็บพลังงานงานชนิดหนึ่ง (Energy storage element) มีความสามารถในการเก็บประจุ (Charge) และคายประจุ (Discharge) โครงสร้างประกอบด้วยแผ่นโลหะ (แผ่นเพลต) 2 แผ่นและมีฉนวนคั่นกลาง โดยฉนวนนี้เรียกว่าไดอิเล็กตริก (Dielectric) ซึ่งไดอิเล็กตริกนี้อาจจะเป็นอากาศ, พลาสติก, เซรามิค หรือสารที่มีสภาพคล้ายฉนวนอื่น ๆ 

 

หลักการทำงานของตัวเก็บประจุ

     การเก็บประจุ (Charge) คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ  คือเมื่อมีการต่อกับแบตเตอรี่ประจุอิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่จะวิ่งไปยังแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ แผ่นเพลตอีกแผ่นจะได้รับแรงสนามไฟฟ้าผลักอิเล็กตรอนออกไปจะเหลือประจุบวกมากกว่า เมื่อปลดสายต่อแบตเตอรี่ออก ขั้วทั้งสองของตัวเก็บประจุจะมีประจุไฟฟ้าบนแผ่นเพลตสองแผ่นที่เป็นคนละประจุ โดยด้านที่ต่อกับขั้วลบจะมีประจุลบรวมกันอยู่ และด้านที่ต่อกับขั้วบวกจะมีประจุบวกรวมกันอยู่

    การคายประจุ (Discharge) คือ กระบวนการที่อิเล็กตรอนวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบมาที่แผ่นเพลตบวกทันทีเมื่อมีการครบวงจร

  

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ

การอ่านค่าโดยตรง - ค่าของตัวเก็บประจุมี 2 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ ไมโครฟารัด (uF) และ พิโกฟารัด (pF) การอ่านค่าวิธีนี้บางครั้งผู้ผลิตอาจบอกค่าความจุเพียงตัวเลขอย่างเดียวโดยละหน่วยไว้ในฐานที่เข้าใจ ค่าตัวเก็บประจุทีตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 จะมีหน่วยการอ่านค่าเป็นไมโครฟารัด (uF) เช่น 0.1 หมายถึง 0.1 ไมโครฟารัด ส่วนตัวเลขที่มีค่ามากกว่า 1 จะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 20 หมายถึง20 พิโกฟารัด ยกเว้นกรณีที่มีการระบุหน่วยตามหลัง เช่น 10uF ค่าที่อ่านได้จะเท่ากับ 10 ไมโครฟารัด ส่วนตัวเลขที่บอกค่าเกิน 2 หลัก เช่น 101 นั้นจะไม่เท่ากับ 101 พิโกฟารัด แต่จะใช้การอ่านค่าแบบแปรรหัส 

การอ่านค่าแบบแปรรหัส - ค่าความจุที่แสดงเป็นตัวเลขสามหลักและพ่วงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น 101K สามารถอ่านค่าได้โดยคงตัวแรกสองหลักแรกไว้ โดยหลักที่สามหมายถึงจำนวนเลข 0 ที่นำมาต่อท้าย โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวท้ายนั้น หมายถึงค่าความผิดพลาด ซึ่งแต่ละตัวอักษรแสดงถึงระดับความผิดพลาดที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 

ตัวอักษร ค่าความผิดพลาด
D ± 0.5%
F ± 1%
G ± 2%
H ± 3%
J ± 5%
K ± 10%
L ± 15%
M ± 20%

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความจุของตัวเก็บประจุ

  • พื้นที่แผ่นเพลตที่วางขนานกัน หากแผ่นเพลตมีพื้นที่มากก็ยิ่งมีค่าความจุมาก
  • ระยะห่างระหว่างแผ่นเพลต หากแผ่นเพลตห่างกันมากขึ้นค่าความจุยิ่งลดลง
  • ชนิดของสารที่ใช้ทำแผ่นไดอิเล็กตริก ค่าความจุจะเปลี่ยนไปตามชนิดของสารที่ใช้คั่น 

บริษัท ยูโรเอ็นเทค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายตัวเก็บประจุ Capacitor คุณภาพมาตรฐาน ราคาย่อมเยาว์ มีให้เลือกหลายชนิด [ ดูสินค้า ]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

📞 086-4417193, 02-7596892

🏬 สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ [ click ]

เครื่องเชื่อม TIG เชื่อมทิก เชื่อมโลหะ MMA เชื่อมไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ที่ปรึกษา มอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า คาปาซิเตอร์ ตัวเก็บประจุ capacitor